วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Enterprise Application ประกอบด้วย

Enterprise Resource Planning : ERP
          คือ การบริหารจัดการภายในองค์กร เนื่องจากมีการแข่งขันกันที่สูง องค์กรต่างๆจึงต้องมีการพัฒนากระบวนการและข้อมูลทั้งหมด ในองค์กร เพื่อที่จะได้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยจะมีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง โดยการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะมีการติดต่อระหว่างสายการผลิตไปจนถึงช่องทางจำหน่ายทั้งนี้เพื่อที่จะ ลดขั้นตอนใน Supply Chain จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต

Supply Chain Management System : SCM
         คือ ความพยายามทุก ๆ ประการ ที่จะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในด้านการผลิต และการจัดส่งสินค้า หรือบริการ จากผู้ผลิตสินค้า ถึงผู้ซื้อ หรือลูกค้า โดยจะเน้นที่การทำให้กิจกรรมการสั่งซื้อวัตถุดิบ และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เป็นไปอย่างราบรื่น และประหยัดที่สุดแม้ว่าหลายปีที่ผ่านมา ผู้ผลิต จะเป็นตัวจักรสำคัญในโซ่อุปทาน เพราะเป็นผู้ควบคุมปริมาณการผลิต และการจัดจำหน่าย แต่ปัจจุบัน ลูกค้า มีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากที่คุณภาพในการผลิตสินค้าและบริการแทบจะไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เป็นไปด้วยความพึงพอใจสูงสุด จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งบริษัทที่ตระหนักถึงความสำคัญ และเรียนรู้การจัดการกับสายโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมจะนำมาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันต้องยอมรับว่า โซ่อุปทาน ประกอบด้วยการผลิต และการกระจายของสินค้าหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่ของเวลาการจัดส่ง ต้นทุน และความต้องการของลูกค้า ซึ่งปัจจัยทั้งหมดล้วนเปลี่ยนแปลงง่าย และทำนายได้ยาก การจัดการกับโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ จึงเปรียบเสมือนกับการรักษาสมดุลของสิ่งที่สลับซับซ้อนซึ่งต้องการการเตรียมความพร้อมที่ดีเยี่ยมและมีการวางแผนที่เหมาะสมพร้อมรับมือกับข้อมูลในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

Customer Relationship Management : CRM
          คือ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก  การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม  ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด 
 
Knowledge management : KM
          คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กรโดยพัฒนาระบบจากข้อมูลไปสู่สารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรู้และปัญญาในที่สุดการจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฎิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดง และกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์

Intranet and Extranet

อินเตอร์เน็ต (Internet)
          คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสารสำหรับองค์กรซึ่งจำกัดการเข้าถึงโดยบุคคลภายนอก

               
เอกซ์ทราเตอร์ (Extranet) 
          คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้
 

E-commerce and E-Government

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
          คือ การดำเนินธุรกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยผู้ซื้อ (Customer) สามารถดำเนินการเลือกสินค้า คำนวณเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิต ได้โดยอัตโนมัติ ผู้ขาย (Business) สามารถนำเสนอสินค้า  ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับเงินชำระค่าสินค้า ตัดสินค้าจากคลังสินค้า และประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้า  โดยอัตโนมัติ กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย Internet
 
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)           
            1. ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก 
            2. ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย 
            3. ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย 
            4. แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้าโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้า
                ร้าน 
            5. เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การแสดง
                สินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศา หรือลูกค้าสามารถอ่านหัว
                ข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้
            6. ง่ายต่อการชำระเงิน โดยวิธีการผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงินเข้า
                บัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ
            7. เพิ่มโอกาสทางด้านธุรกิจ
            8. รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที
 

 
รัฐบาลอิเล็คทรอนิกส์ (E-Government) 
          คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐ ประการสำคัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาชน
 
 

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

1. ในมุมมองของธุรกิจนั้น การสร้างระบบสารสนเทศควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง จงอธิบาย

 ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)     คือระบบที่รวบรวมและจัดเก็บ
ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กรอย่างมีหลักเกณฑ์
เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน
และการตัดสินใจในด้านต่างๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็น
ไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ

  • เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ส่วนประกอบ
        หรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MIS และช่วยให้ระบบสารสนเทศดำ-
        เนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ (Hardware)   ,   ซอฟต์แวร์
       (Software)   และฐานข้อมูล (Datadase)

  • วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล การที่จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จะต้อง
        มีการจัดลำดับ     วางแผนงานและวิธีการประมวลผลให้ถูกต้อง   เพื่อให้ได้
        ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ต้องการ

  • การแสดงผลลัพธ์ เมื่อข้อมูลได้ผ่านการประมวลแล้วจะได้สารสนเทศหรือ MIS
        เกิดขึ้น อาจจะนำเสนอในรูปของตาราง กราฟ รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้การ
        นำเสนอข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และ
        ลักษณะของการนำไปใช้งาน
  • 2. ท่านคิดว่าการเรียนแบบ Virtual Classroom หรือ e-learning มีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง

    ตอบ Virtual Classroom หรือ e-learning หมายถึงการเรียนการสอนผ่าน
    ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องทางของระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต
    โดยผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปเรียนใน
    เว็บไซต์ที่ออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้มีสภาพแวดล้อมคล้ายกับเรียนใน
    ห้องเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน       และผู้เรียนกับผู้เรียนโดยมี
    บรรยากาศเสมือนพบกันจริง  ซึ่งเป็นการเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาของบทเรียนได้โดย
    ผ่านคอมพิวเตอร์

    ข้อดี


  • ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา เพราะสามารถทำได้ตลอดเวลา นอกจากนี้
        ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่

  • ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอม-
        พิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้
        ง่ายขึ้นมาก

  • ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่ายเนื่องจากสามารถเข้าถึง server ได้
        จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วย
        ความรวดเร็ว

  • ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะ-
        ทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี

  • ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน

    ข้อเสีย


  • ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน

  • ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

  • ผู้เรียนและผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์-
        เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน

  • ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรับผิดชอบในการเรียนด้วยตนเองซึ่งเป็นคุณ-
        ลักษณะที่สำคัญในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน
  • 3. สถาบันการศึกษาได้ประโยชน์อะไรจากการใช้ระบบ e-learning

    ตอบ สถาบันการศึกษาได้ประโยชน์จากการใช้ระบบ e-learning ในด้านของ
    การยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ง่ายเนื่องจาก
    สามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล
    จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว       การเข้าถึงเนื้อหาของผู้เรียนจะเป็นไปใน
    ลักษณะสามารถนำกลับมาใช้ได้ตลอดเวลา เรียกซ้ำได้โดยไม่รู้จบ    รวมทั้งยัง
    ขยายโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และสามารถติดตาม
    ความก้าวหน้าของผู้เรียนจากการได้เรียนรู้เทคโนโลยีควบคู่ไปกับการเรียนใน
    บทเรียน

    4. ท่านต้องการที่จะเรียนในระบบ e-learning หรือไม่ เพราะเหตุใด

     ตอบ ต้องการ เพราะ  ระบบ e – learning สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้าง
    ขวางและมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างระบบการสื่อสารภายในห้องเรียนที่ไม่มีข้อ
    จำกัดในด้านเวลาและสถานที่การเข้าถึงสามารถกระทำได้ง่าย      อีกทั้งเนื้อหายัง
    สามารถนำกลับมาใช้ได้ตลอดเวลา    เรียกซ้ำได้โดยไม่รู้จบ   ซึ่งจะทำให้ประหยัด
    เวลาและค่าเดินทางอีกด้วย