วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยี Hardware และ Software สำหรับยุคดิจิตอล

 
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
            การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถ ใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไป ใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย 

แนวโน้มใน ด้านบวก 
  • การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ 
  • การ พัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
  • การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้ 
  • การ ศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)
  • การ พัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ 
  • การ บริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen

 แนวโน้มใน ด้านลบ 
  • ความ ผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา 
  • การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
  • การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์  


สังคม ยุคดิจิตอลในปัจจุบัน เราได้เห็นการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งทาง Hardware และ Software อันอำนวยประโยชน์ต่อมนุษยชาติ ทั้งการใช้ชีวิตส่วนตัวประจำวัน และการบริหารจัดการทางด้านธุรกิจ แต่พฤติกรรมคลิกเมาส์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์สื่อให้เห็น การเปลี่ยนใจอย่างรวดเร็วของคนในปัจจุบันด้วย ในแง่ของการดำเนินธุรกิจ นั่นหมายถึง ใช้ Brand switching habit” ของผู้ซื้อในตลาดของกินของใช้ ในอดีตผู้บริหารการตลาดได้พยายามใช้ “Brand building” เพื่อสร้าง “Brand image” ให้แข็ง เพื่อรักษา “Brand loyalty”   การสร้างกำไรเพิ่ม มักเน้นที่ปริมาณและมูลค่าการขายจากส่วนแบ่งตลาดที่ขยายตัว อันสืบเนื่องจากการได้มาซึ่งผู้ซื้อรายใหม่   แต่สภาพตลาดที่แข่งขันอย่างรุนแรง โดยผู้ซื้อมี ทางเลือก” (Choices) มากขึ้น ประกอบกับความพร้อมที่จะ เปลี่ยนใจ”   ประกอบกับลูกค้ารายใหม่หายากขึ้น ลูกค้ารายเก่าก็พร้อมจะจากไป   หากมิได้มีการบริหารจัดการที่ดี ที่ถูกต้อง  CRM จึงเกิดขึ้นเพื่อดูแลรักษาลูกค้าเก่าให้อยู่กับผู้ขายได้ยาวนาน  โดยใช้ความพยายามและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับการสร้างและหา ลูกค้าลูกค้ารายใหม่
 การชนะคู่แข่งขันทางการตลาดไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไปในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งต้องเผชิญหน้าทั้งคู่แข่งขันในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี Know how ใหม่ ๆ ก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีกระบวนการไล่กวดกันทางด้านนวัตกรรม (Innovation) ระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งในที่สุดแล้วสินค้า Innovation ที่ออกสู่ตลาดโลกก็จะกลายเป็นสินค้า Community ไปในที่สุด
                 ในการแข่งขันกัน แต่ละองค์กรต่างก็พยายามดึงลูกค้าของคู่แข่งขันมาเป็นของตนเอง ด้วยการนำกลยุทธ์ด้านราคามาใช้ ซึ่งในที่สุดต่างฝ่ายก็เป็นผู้แพ้ในเกมส์การแข่งขัน การต่อสู้ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงนี้ทำให้องค์กรบางองค์กรทนรับภาระการขาดทุน ไม่ไหว ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ไม่ได้เป็นแนวทางที่ถูกต้องนักในการที่จะยืนหยัดอยู่ ในระยะยาว ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นในเวลานี้ไม่ใช่การทำ Price war อันจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่ทั้ง 2 ฝ่าย แต่ควรจะเป็นการย้อนกลับไปให้ความสำคัญแก่ลูกค้า (Customer oriented) โดยจะไม่มองลูกค้าในรูปของ Mass อีกต่อไป แต่จะหันไปให้ความสำคัญเฉพาะรายมากกว่า ส่งผลให้การสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นแบบ One to One ในองค์กรต่าง ๆ ทวีความสำคัญมากขึ้น และจะถูกใช้เป็นกลยุทธ์ในเกมส์การแข่งขัน ด้วยเหตุนี้การทำ CRM (Customer Relationship Management) จึงเกิดขึ้นในองค์กรต่าง ๆ