วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Wal-Mart

1. How is RFID technology related to Wal-Mart’s business model? How does it benefit supplier?
Wal-Martร้านค้าปลีกชื่อดังของสหรัฐฯ ซึ่งมียอดขายปีละกว่า 250,000 ล้านดอลลาร์ ได้ออกระเบียบกำหนดให้Suppliers รายใหญ่ 100 ราย เช่น Gillette, Nestle’, Johnsons & Johnsonsและ Kimberly Clark ติด RFID Chipบนหีบห่อ และกล่องบรรจุสินค้าให้เรียบร้อยก่อนส่งมาถึงห้าง ส่วน Suppliers รายเล็กๆ จะต้องติดชิปในรถส่งสินค้าให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2549
WallMart มองว่า เมื่อระบบดังกล่าวเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์จะช่วยให้บริษัททราบถึงการเดินทางของสินค้าได้ทุกระยะ ตั้งแต่โรงงานของ Suppliers จนถึงศูนย์กระจายสินค้าของห้าง และเมื่อใดที่ สินค้าถูกหยิบออกจากชั้นไป RFID ก็จะส่งสัญญาณเตือนไปยังพนักงานให้นำสินค้ามาเติมใหม่ทำให้ Wal-Mart ไม่จำเป็นต้องเก็บสต็อกสินค้า แต่สามารถสั่งให้ Suppliers มาส่งของได้ทันทีรวมทั้งจะช่วย guarantee ว่าสินค้ามีวางจำหน่วยตลอดเวลา และประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะช่วยลดปัญหาการโจรกรรมสินค้า และปลอมแปลงสินค้าได้อีกด้วย
หลังจากประชุมกลุ่มผู้ขาย (Suppliers) กว่า 300 ราย Wal-Mart กล่าวว่า การนำ RFID มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วกว่าที่คิดไว้ และภายในต้นปี 2548 แผนการติดตั้ง RFID ที่ North Texas กับ จำนวนผู้ขายประมาณ100 รายจะประสบผลสำเร็จในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยี RFID กับผู้ขายมากกว่า 200 รายแล้ว Linda Dillman,ตำแหน่ง “Executivevice president and CIO” กล่าวว่า ประมาณ 16 เดือนข้างหน้า ทาง Wal-Mart วางแผนจะเพิ่มจำนวนร้านค้า Wal-Mart และ Sam’s Club ร้านในเครือ Wal-Mart โดยทางร้านจะนำเทคโนโลยี RFID มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าตามแผนการที่ทาง Wal-Mart ได้วางไว้ว่า จะเพิ่มจำนวน Distribution Center จำนวน 6 แห่ง รวมทั้ง ร้านWal-Mart และ Sam’s Club จำวน 250 ร้าน ภายในเดือนมิถุนายน ปี 2548 และ เดือนตุลาคม ปี 2548 จำนวนร้านค้าจะเพิ่มกว่าเท่าตัว คือ Distribution Center จำนวน 13 แห่ง และ Wal-Mart กับ Sam’s Club จะมี 600 ร้านค้าErik Michielsen ตำแห่ง Senior Analyst ABI Research กล่าวในinternetnews.comว่า เขาเชื่อว่าการที่ Wal-Mart ประกาศไปเช่นนั้นก็เพื่อต้องการขยายตัวทางด้าน RFID ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าทาง Wal-Martมั่นใจในการนำเทคโนโลยี RFID เข้ามาใช้ และ เพื่อให้กลุ่ม supplier ได้เข้าใจถึงการทำงานของเทคโนโลยีตัวนี้ และเข้าใจว่า RFID สามารถให้ประโยชน์อะไรต่อพวกเข้าได้บ้าง 
จาก 2 ไตรมาสที่ผ่านมา Wal-Mart ได้ทำการทดสอบ และ ทำการ implement งานเล็กๆ เพื่อเป็นการสร้างรากฐาน Erik Michielsen กล่าวต่อว่า ทางบริษัทได้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ RFID โดยการอธิบายบทบาทต่างๆว่าใครคือกลุ่มผู้ทำงาน ใครคือบริษัทคู่ค้า และ ผลประโยชน์ที่ทางบริษัทจะได้รับจากการนำ RFID เข้ามาใช้งาน ทั้งนี้เรื่องของ scale ยังคงเป็นประเด็นอยู่ ณ ขณะนี้ สิ่งประเด็นนี้มีผลต่อยอดเงินที่สูงถึงหลักล้านเหรียญสหรัฐความคืบหน้าของโครงการนำร่องที่ได้เริ่มเมื่อประมาณ 30 เมษายน 2547 กำลังดำเนินไปได้ด้วยดี ทางเจ้าหน้าที่Wal-Mart's Dillman กล่าว และยังเสริมว่าต้นปี2548 โครงการนี้จะเห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ทาง Wal-Martหวังว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าเช่นด้วยกับ supplier โดยคาดหวังว่าจำนวนกลุ่มลูกค้าที่ถือสินค้าที่ติด tagของ EPCglobal จะเพิ่มมากขึ้น โดย tag ดังกล่าวนี้จะติดอยู่กับสินค้าขนาดใหญ่เช่น เครื่องไม้เครื่องมือทำสวน หรือแม้แต่จักรยาน เช่นเดียวกับสินค้าด้านอุปกรณ์ electronic ต่างๆ
สืบเนื่องจาก Wal-Mart มีแนวคิดที่จะใช้ RFID ในการช่วยบรรเทาปัญหาสินค้าขาดสต๊อกในร้านสาขาย่อยของบริษัท โดยเริ่มต้นทำการติดตั้งและใช้ระบบ RFID Tag นี้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ใน 7 ร้านสาขาย่อยที่อยู่ในรัฐเท็กซัส ซึ่ง Wal-Mart คาดหวังว่าเมื่อระบบนี้ประสบความสำเร็จจะทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลใน RFID นี้จะถูกรวบรวมและประมวลผลปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ให้บริษัททราบการเดินทางของสินค้าแต่ละรายการจากทุก Supplier ตั้งแต่โกดังที่ท่าเทียบเรือไปจนถึงชั้นวางสินค้าในร้านสาขาย่อย ข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้จะช่วยให้ Wal-Mart ลดปัญหาสินค้าขาดสต๊อก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มยอดขายและลดต้นทุนในระยะยาวลงได้
ในแง่ของผลประโยชน์ที่ Supplier ของ Wal-Mart ทุกรายจะได้รับหากทำการติดตั้งและเข้าร่วมการใช้ระบบนี้กับบริษัทนั่นก็คือ คำสั่งซื้อและยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างอัตโนมัติในทันทีที่สินค้าสต๊อกในระบบพร่องลงไป เนื่องจาก Wal-Mart จะแบ่งปันข้อมูลการค้าปลีกให้แก่ Supplier ที่เข้าร่วมผ่านทางโครงข่าย Extranet ของบริษัทโดยตรง ซึ่งจะทำให้ Supplier ทราบทันทีภายใน 30 นาที หลังจากสินค้ารายการนั้นๆมีการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง สิ่งที่ Wal-Mart อนุญาตและยอมรับก็คือ การให้ Supplier ดังกล่าวทำการเติมเต็มสินค้ารายการนั้นๆได้ทันที
 

2. What management, organization, and technology factors explain why Wal-Mart suppliers had trouble implementing RFID systems?
 
หากมองในระยะสั้นแล้วจะเห็นว่า Transaction cost เพิ่มขึ้นซึ่ง Wal-Mart ไม่ได้ร่วมรับผิดชอบกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นแต่ในทางตรงข้ามกับผลักภาระนี้ให้กับ Supplier รับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียว กอร์ปกับต้องใช้ระบบนี้ในขณะที่เทคโนโลยี RFID ยังอยู่ในช่วงที่กำลังพัฒนาซึ่งยังไม่สิ้นสุดและสมบูรณ์แบบ ซึ่งอาจหมายความว่า Supplier อาจต้องมีการลงทุนเพิ่มในการปรับปรุงระบบในอนาคตก็เป็นได้ อีกทั้งต้นทุนต่อหน่วยของระบบ RFID ในขณะนั้นก็ยังมีราคาแพงซึ่งอยู่ระหว่าง 25-75 เซ็นต์ต่อชิ้น ยิ่งไปกว่านั้นในสินค้าบางประเภท เช่นของเหลว โลหะ หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้กับทารก ก็มีความอ่อนไหวที่จะนำระบบนี้ไปใช้ เนื่อง RFID ทำงานอยู่บนคลื่นความถี่วิทยุซึ่งสามารถจะถูกดูดซึมและปะปนอยู่บนตัวสินค้าเหล่านี้ได้ซึ่งส่งผลกระทบกับความมั่นใจของผู้บริโภค นั่นหมายความว่าการที่ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเข้าไปแก้ปัญหาโดยการใช้ RFID ที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น ซึ่งประสิทธิภาพย่อมแปรผันตรงกับราคาที่จะย้อนกลับมาเป็นต้นทุนของ Supplier แต่ละราย

 
3. What conditions would make adopting RFID more favorable for suppliers?
 
1. Wal-Mart ควรมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการติดตั้งและบังคับใช้ระบบ RFID ซึ่งจะใช้วิธีการใดก็ได้เพื่อให้เป็นธุรกิจแบบ Win-Win
2.ควรเริ่มเมื่อเทคโนโลยี RFID ได้รับการพัฒนาจนถึงจุดที่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคว่าไม่มีผลกระทบใดๆต่อสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงในแง่ของต้นต่อหน่วยให้ลดต่ำลงเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้ามากนัก
 

4. Should Wal-Mart require all its suppliers to use RFID? Why or why not? Explain your answer.
 
หากมองในมุมของผู้สนับสนุนวัตถุดิบหรือสินค้า (Supplier) ให้แก่ Wal-Mart ในระยะยาวก็คงจะเห็นด้วยและสนับสนุนแนวคิดที่จะใช้ RFID แทน Barcode แบบเก่า เนื่องจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังและรวมถึงรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่ถ้ามองในแง่ของผู้บริโภคก็คงไม่เห็นด้วยในขณะนี้จนกว่า Wal-Mart จะมีคำตอบที่เหมาะสมให้กับ 2 คำถามดังต่อไปนี้
1.ภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการ Implement ระบบ RFID จะถูกรับผิดชอบโดยใคร หรือจะผลักภาระไปให้ผู้บริโภคด้วยการบวกเพิ่มเข้าไปในราคาสินค้า
2. RFID ทำงานด้วยคลื่นความถี่วิทยุ อยากทราบว่ามีงานวิจัยอะไรหรือไม่ที่สนับสนุนว่าคลื่นความถี่วิทยุเหล่านั้นไม่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่นอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับทารกหรือผู้ป่วย หากประเด็นเหล่านี้ได้รับการชี้แจงคงทำให้ผู้บริโภคปลายน้ำรับรู้และช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้า

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยี Hardware และ Software สำหรับยุคดิจิตอล

 
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
            การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถ ใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไป ใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย 

แนวโน้มใน ด้านบวก 
  • การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ 
  • การ พัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
  • การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้ 
  • การ ศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)
  • การ พัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ 
  • การ บริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen

 แนวโน้มใน ด้านลบ 
  • ความ ผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา 
  • การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
  • การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์  


สังคม ยุคดิจิตอลในปัจจุบัน เราได้เห็นการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งทาง Hardware และ Software อันอำนวยประโยชน์ต่อมนุษยชาติ ทั้งการใช้ชีวิตส่วนตัวประจำวัน และการบริหารจัดการทางด้านธุรกิจ แต่พฤติกรรมคลิกเมาส์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์สื่อให้เห็น การเปลี่ยนใจอย่างรวดเร็วของคนในปัจจุบันด้วย ในแง่ของการดำเนินธุรกิจ นั่นหมายถึง ใช้ Brand switching habit” ของผู้ซื้อในตลาดของกินของใช้ ในอดีตผู้บริหารการตลาดได้พยายามใช้ “Brand building” เพื่อสร้าง “Brand image” ให้แข็ง เพื่อรักษา “Brand loyalty”   การสร้างกำไรเพิ่ม มักเน้นที่ปริมาณและมูลค่าการขายจากส่วนแบ่งตลาดที่ขยายตัว อันสืบเนื่องจากการได้มาซึ่งผู้ซื้อรายใหม่   แต่สภาพตลาดที่แข่งขันอย่างรุนแรง โดยผู้ซื้อมี ทางเลือก” (Choices) มากขึ้น ประกอบกับความพร้อมที่จะ เปลี่ยนใจ”   ประกอบกับลูกค้ารายใหม่หายากขึ้น ลูกค้ารายเก่าก็พร้อมจะจากไป   หากมิได้มีการบริหารจัดการที่ดี ที่ถูกต้อง  CRM จึงเกิดขึ้นเพื่อดูแลรักษาลูกค้าเก่าให้อยู่กับผู้ขายได้ยาวนาน  โดยใช้ความพยายามและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับการสร้างและหา ลูกค้าลูกค้ารายใหม่
 การชนะคู่แข่งขันทางการตลาดไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไปในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งต้องเผชิญหน้าทั้งคู่แข่งขันในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี Know how ใหม่ ๆ ก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีกระบวนการไล่กวดกันทางด้านนวัตกรรม (Innovation) ระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งในที่สุดแล้วสินค้า Innovation ที่ออกสู่ตลาดโลกก็จะกลายเป็นสินค้า Community ไปในที่สุด
                 ในการแข่งขันกัน แต่ละองค์กรต่างก็พยายามดึงลูกค้าของคู่แข่งขันมาเป็นของตนเอง ด้วยการนำกลยุทธ์ด้านราคามาใช้ ซึ่งในที่สุดต่างฝ่ายก็เป็นผู้แพ้ในเกมส์การแข่งขัน การต่อสู้ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงนี้ทำให้องค์กรบางองค์กรทนรับภาระการขาดทุน ไม่ไหว ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ไม่ได้เป็นแนวทางที่ถูกต้องนักในการที่จะยืนหยัดอยู่ ในระยะยาว ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นในเวลานี้ไม่ใช่การทำ Price war อันจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่ทั้ง 2 ฝ่าย แต่ควรจะเป็นการย้อนกลับไปให้ความสำคัญแก่ลูกค้า (Customer oriented) โดยจะไม่มองลูกค้าในรูปของ Mass อีกต่อไป แต่จะหันไปให้ความสำคัญเฉพาะรายมากกว่า ส่งผลให้การสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นแบบ One to One ในองค์กรต่าง ๆ ทวีความสำคัญมากขึ้น และจะถูกใช้เป็นกลยุทธ์ในเกมส์การแข่งขัน ด้วยเหตุนี้การทำ CRM (Customer Relationship Management) จึงเกิดขึ้นในองค์กรต่าง ๆ

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Enterprise Application ประกอบด้วย

Enterprise Resource Planning : ERP
          คือ การบริหารจัดการภายในองค์กร เนื่องจากมีการแข่งขันกันที่สูง องค์กรต่างๆจึงต้องมีการพัฒนากระบวนการและข้อมูลทั้งหมด ในองค์กร เพื่อที่จะได้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยจะมีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง โดยการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะมีการติดต่อระหว่างสายการผลิตไปจนถึงช่องทางจำหน่ายทั้งนี้เพื่อที่จะ ลดขั้นตอนใน Supply Chain จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต

Supply Chain Management System : SCM
         คือ ความพยายามทุก ๆ ประการ ที่จะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในด้านการผลิต และการจัดส่งสินค้า หรือบริการ จากผู้ผลิตสินค้า ถึงผู้ซื้อ หรือลูกค้า โดยจะเน้นที่การทำให้กิจกรรมการสั่งซื้อวัตถุดิบ และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เป็นไปอย่างราบรื่น และประหยัดที่สุดแม้ว่าหลายปีที่ผ่านมา ผู้ผลิต จะเป็นตัวจักรสำคัญในโซ่อุปทาน เพราะเป็นผู้ควบคุมปริมาณการผลิต และการจัดจำหน่าย แต่ปัจจุบัน ลูกค้า มีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากที่คุณภาพในการผลิตสินค้าและบริการแทบจะไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เป็นไปด้วยความพึงพอใจสูงสุด จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งบริษัทที่ตระหนักถึงความสำคัญ และเรียนรู้การจัดการกับสายโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมจะนำมาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันต้องยอมรับว่า โซ่อุปทาน ประกอบด้วยการผลิต และการกระจายของสินค้าหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่ของเวลาการจัดส่ง ต้นทุน และความต้องการของลูกค้า ซึ่งปัจจัยทั้งหมดล้วนเปลี่ยนแปลงง่าย และทำนายได้ยาก การจัดการกับโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ จึงเปรียบเสมือนกับการรักษาสมดุลของสิ่งที่สลับซับซ้อนซึ่งต้องการการเตรียมความพร้อมที่ดีเยี่ยมและมีการวางแผนที่เหมาะสมพร้อมรับมือกับข้อมูลในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

Customer Relationship Management : CRM
          คือ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก  การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม  ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด 
 
Knowledge management : KM
          คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กรโดยพัฒนาระบบจากข้อมูลไปสู่สารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรู้และปัญญาในที่สุดการจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฎิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดง และกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์

Intranet and Extranet

อินเตอร์เน็ต (Internet)
          คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสารสำหรับองค์กรซึ่งจำกัดการเข้าถึงโดยบุคคลภายนอก

               
เอกซ์ทราเตอร์ (Extranet) 
          คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้
 

E-commerce and E-Government

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
          คือ การดำเนินธุรกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยผู้ซื้อ (Customer) สามารถดำเนินการเลือกสินค้า คำนวณเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิต ได้โดยอัตโนมัติ ผู้ขาย (Business) สามารถนำเสนอสินค้า  ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับเงินชำระค่าสินค้า ตัดสินค้าจากคลังสินค้า และประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้า  โดยอัตโนมัติ กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย Internet
 
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)           
            1. ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก 
            2. ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย 
            3. ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย 
            4. แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้าโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้า
                ร้าน 
            5. เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การแสดง
                สินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศา หรือลูกค้าสามารถอ่านหัว
                ข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้
            6. ง่ายต่อการชำระเงิน โดยวิธีการผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงินเข้า
                บัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ
            7. เพิ่มโอกาสทางด้านธุรกิจ
            8. รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที
 

 
รัฐบาลอิเล็คทรอนิกส์ (E-Government) 
          คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐ ประการสำคัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาชน
 
 

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

1. ในมุมมองของธุรกิจนั้น การสร้างระบบสารสนเทศควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง จงอธิบาย

 ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)     คือระบบที่รวบรวมและจัดเก็บ
ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กรอย่างมีหลักเกณฑ์
เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน
และการตัดสินใจในด้านต่างๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็น
ไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ

  • เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ส่วนประกอบ
        หรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MIS และช่วยให้ระบบสารสนเทศดำ-
        เนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ (Hardware)   ,   ซอฟต์แวร์
       (Software)   และฐานข้อมูล (Datadase)

  • วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล การที่จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จะต้อง
        มีการจัดลำดับ     วางแผนงานและวิธีการประมวลผลให้ถูกต้อง   เพื่อให้ได้
        ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ต้องการ

  • การแสดงผลลัพธ์ เมื่อข้อมูลได้ผ่านการประมวลแล้วจะได้สารสนเทศหรือ MIS
        เกิดขึ้น อาจจะนำเสนอในรูปของตาราง กราฟ รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้การ
        นำเสนอข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และ
        ลักษณะของการนำไปใช้งาน